ข้อเท็จจริงและประเด็นที่สำคัญ
จากคู่มือนักกีฬาขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (WADA)
WADA คืออะไร
องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency :WADA) เป็นองค์กรอิสระระดับนานาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1999เพื่อส่งเสริม ประสานงาน และเฝ้าระวังมิให้มีการใช้สารต้องห้ามในกีฬาทุกรูปแบบและได้มีการพัฒนา ปรับปรุง ประมวลกฎต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก(WADA Code) ขึ้นมาเพื่อบังคับใช้ WADA ไม่ใช่หน่วยงานที่ตรวจสารต้องห้าม
WADA ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ การส่งเสริม สนับสนุน การศึกษาการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ การเผยแพร่ความรู้ให้กับนักกีฬาการเสริมสร้างศักยภาพในการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม การบังคับและการดำเนินการติดตามการบังคับใช้ประมวลกฎการต่อต้านการใช้
WADA Code คืออะไร
WADA Code หมายถึง ประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม ที่บังคับใช้ทั่วโลกในทุกชนิดกีฬา
Doping คืออะไร
Doping คือ การละเมิดกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม ดังต่อไปนี้
- ตรวจพบ สารต้องห้ามในตัวอย่างปัสสาวะหรือเลือดของนักกีฬา
- การใช้ หรือพยายามใช้สารต้องห้ามหรือวิธีการต้องห้าม
- ปฏิเสธ หรือไม่มาให้เก็บตัวอย่างภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ละเมิด ข้อกำหนด การแจ้งที่อยู่ของนักกีฬา(whereabouts)
- แทรกแซง หรือการพยายามแทรกแซงกระบวนการในการควบคุมการใช้สารต้องห้าม
- ครอบครอง สารต้องห้าม
- การค้า สารต้องห้ามหรืออุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับวิธีการต้องห้ามใดๆ
- การให้ สารต้องห้าม หรือวิธีการต้องห้ามแก่นักกีฬา
- สนับสนุน ส่งเสริมให้นักกีฬาใช้สารต้องห้าม
- เกี่ยวข้อง กับบุคคลที่สนับสนุนการใช้สารต้องห้าม
การตรวจ
หากคุณเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติและ/หรือระดับชาติ คุณอาจถูกตรวจปัสสาวะ และ/หรือเลือดได้ทุก ที่ ทุกเวลาจากเจ้า หน้าที่ควบคุม สารต้องห้ามที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา การตรวจสารต้องห้ามสามารถทำได้ทั้งในและนอกช่วงการแข่งขัน
ใครจะต้องถูกตรวจบ้าง
ในการแข่งขันคุณสามารถถูกตรวจสารต้องห้ามได้โดยวิธีการสุ่ม สุ่มอันดับที่แข่งขัน หรือโดยการระบุตัวช่วงนอกการแข่งขัน คุณอาจถูกตรวจได้ทุกที่ ทุกเวลาโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เยาวชนอายุต่ำกว่า18 ปี จะต้องมีผู้ติดตามไปด้วย 1 คน นักกีฬาคนพิการอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บตัวอย่างเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม
ดาวน์โหลด
3.E0B980E0B8ADE0B881E0B8AAE0B8B2E0B8A3E0B882E0B989E0B8ADE0B980E0B897E0B987E0B888E0B888E0B8A3E0B8B4E0B887.pdf